- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 18-24 มกราคม 2564
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าว กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,961 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,890 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,222 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,242 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,830 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,775 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 899 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,789 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 14 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 543 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,154 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ที่เฉลี่ยตันละ 543 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,181 บาท/ตัน) แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 27 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 540 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,065 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,062 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.7496 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2563/64 ณ เดือนมกราคม 2564 ผลผลิต 503.167 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 496.397 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2562/63 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.36
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2563/64
ณ เดือนมกราคม 2564 มีปริมาณผลผลิต 503.167 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.36 การใช้ในประเทศ 501.969 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.41 การส่งออก/นำเข้า 45.616 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 2.11 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 179.503 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก
ปี 2562/63 ร้อยละ 0.67
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย กัมพูชา จีน อียู กายานา ปากีสถาน ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล เมียนมา อินเดีย ปารากวัย ตุรกี และอุรุกวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ เบนิน คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ เอธิโอเปีย อียู กานา อิรัก เคนย่า ไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล จีน กินี มาเลเซีย เม็กซิโก และเนปาล
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ จีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567 โดยมีวิสัยทัศน์ คือ ไทยเป็นผู้นำการผลิต การตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก ภายใต้ยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิต โดยแบ่งข้าวออกเป็น 7 ชนิด ตามความต้องการของตลาด 3 ประเภท ดังนี้ 1. ตลาดพรีเมียม ได้แก่ ข้าวหอมมะลิและข้าวหอมไทย 2. ตลาดทั่วไป ได้แก่
1.1 ตลาดนำการผลิต เป้าหมาย คือ ประเทศไทยมีชนิดข้าวที่หลากหลายสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดกลยุทธ์ เช่น 1) การจัดทำฐานข้อมูลตลาดข้าวเชิงลึก 2) การเชื่อมโยงข้อมูลแนวโน้มความต้องการของตลาดกับภาคการผลิต และ 3) การผลักดันผลผลิตสู่ตลาดเป้าหมาย
1.2 การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานข้าวไทย เป้าหมาย คือ ข้าวไทยเป็นหนึ่งด้านคุณภาพและมาตรฐานกลยุทธ์ เช่น 1) การกำหนดมาตรฐานสินค้าข้าวเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและการพัฒนาพันธุ์ข้าว
2) การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับสำหรับสินค้าข้าวไทย และ 3) การผลักดันให้มีห้องปฏิบัติการของรัฐสำหรับตรวจวิเคราะห์สารตกค้างหรือสารปนเปื้อน
1.3 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการส่งออกข้าวไทยเป้าหมาย คือ ลดต้นทุนการส่งออกเพื่อให้แข่งขันได้ กลยุทธ์ เช่น 1) การปรับปรุงกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่ง
ทั้งทางบกและทางน้ำ เพื่อลดต้นทุนการขนส่งข้าว 3) การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการขนส่ง และ 4) การตรวจรับรองมาตรฐานข้าวตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง
1.4 การส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ เป้าหมาย คือ เพิ่มโอกาสและช่องทางตลาดของข้าวไทยให้เข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้าง กลยุทธ์ เช่น 1) การอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคในการส่งออกข้าวไทย 2) การส่งเสริมการค้าข้าวในรูปแบบที่สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการของประเทศผู้ซื้อ 3) การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรข้าวไทย และ 4) การส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ส่งออกข้าวไทยและผู้นำเข้าเพื่อสร้าง “Brand Loyalty”
2. ยุทธศาสตร์ข้าวไทยด้านการตลาดภายในประเทศ
2.1 ตลาดนำการผลิต เป้าหมาย เช่น 1) เกษตรกรมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจวางแผนการผลิตข้าวได้ตรงตามความต้องการของตลาด และ 2) มีการจัดชั้นคุณภาพข้าวเปลือก ข้าวสาร เพื่อเป็นเกณฑ์ในระบบการค้า กลยุทธ์ เช่น 1) การจัดทำฐานข้อมูลความต้องการใช้และบริโภคเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลการส่งออกเป็น Single Demand Base
2) การจัดชั้นคุณภาพข้าวเปลือกและข้าวสาร และ 3) การส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)
2.2 เพิ่มประสิทธิภาพระบบการค้าข้าวและยกระดับกลไก การซื้อขายสู่มาตรฐานสากล เป้าหมาย เช่น
1) มีกระบวนการผลิตข้าวสารที่ได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานสากล และ 2) ผู้ผลิตและผู้ค้าข้าวไทยมีศักยภาพ และ
ขีดความสมารถในการแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มขึ้น กลยุทธ์ เช่น 1) การปรับปรุงกฎระเบียบการค้าข้าวและฐานข้อมูลผู้ประกอบการค้าข้าว 2) การจัดระบบการตรวจรับรองมาตรฐานคุณภาพข้าวสารที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และ 3) การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของโรงสีสู่มาตรฐานสากล
2.3 บริหารสมดุลอุปสงค์อุปทานข้าวและสร้างกลไกป้องกันความเสี่ยงด้านราคา เป้าหมาย เช่น 1) การลดความผันผวนของราคาข้าว ชาวนาได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมคุ้มค่ากับการลงทุน และ 2) กลไกตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการแข่งขันสูงขึ้น กลยุทธ์ เช่น 1) การสร้างหลักประกันรายได้ให้ชาวนา และ 2) การเพิ่มสภาพคล่องให้กับโรงสีและผู้ค้าข้าวในการดูดซับผลผลิตในช่วงที่ข้าวออกสู่ตลาดมาก
2.4 พัฒนาระบบการเชื่อมโยงและรณรงค์การบริโภค เป้าหมาย เช่น 1) ชาวนามีความรู้ด้านการตลาดและการสร้าง Brand สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และ 2) การลดปัญหาสภาพคล่องของคู่ค้า
ในระบบการค้าข้าว กลยุทธ์ เช่น 1) การจัดทำฐานข้อมูลการผลิตและการใช้ข้าวระดับจังหวัด และ 2) การส่งเสริม
การให้ใบประทวนสินค้าข้าวเป็นหลักทรัพย์
3. ยุทธศาสตร์ข้าวไทยด้านการผลิต
3.1 สร้างความเข้มแข็งให้ชาวนาและองค์กรชาวนาพึ่งพาตนเองได้ มีรายได้เพียงพอและอยู่ดีมีสุข เป้าหมาย คือ 1) ชุมชนข้าวมีความเข้มแข็งในระดับมาตรฐาน ไม่น้อยกว่า 10,000 กลุ่ม ในปี 2567 และ 2) มีชาวนาปราดเปรื่อง ปราชญ์ชาวนา และชาวนารุ่นใหม่ ไม่น้อยกว่า 130,000 ราย ในปี 2567 กลยุทธ์ เช่น 1) การยกระดับชาวนาให้เป็นชาวนาปราดเปรื่องและปราชญ์ชาวนา และ 2) การขยายและสร้างศูนย์ข้าวชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตข้าวของชุมชน
3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการผลิตข้าว เป้าหมาย เช่น 1) ปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกแต่ละชนิดเท่ากับหรือสูง ต่ำกว่าปริมาณความต้องการตลาดไม่เกิน 10% ของแต่ละปี และ 2) ต้นทุนการผลิตข้าวทุกชนิด เฉลี่ยไม่เกินไร่ละ 3,000 บาท หรือเฉลี่ยไม่เกินตันละ 6,000 บาท ในปี 2567 กลยุทธ์ เช่น 1) การขยายโครงสร้างพื้นฐานการผลิตข้าวโดยเพิ่มแหล่งน้ำในไร่นา จัดรูปแปลงและปรับพื้นที่นา และปรับปรุงบำรุงดินให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าวสำคัญ และ
2) การกำหนดเขตส่งเสริมการปลูกข้าวตามศักยภาพของพื้นที่ (Zoning) และ 3) การเพิ่มศักยภาพการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ให้เพียงพอ
3.3 เพิ่มศักยภาพการวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าว และเทคโนโลยีการผลิตข้าว เป้าหมาย เช่น 1) ได้ข้าวพันธุ์ใหม่
ตรงตามความต้องการของตลาด อายุเก็บเกี่ยวสั้น ผลผลิตต่อไร่สูงมาก ไม่น้อยกว่า 12 พันธุ์ ในปี 2567 และ
2) มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการลดต้นทุนการผลิตข้าวและผลผลิตต่อไร่ ไม่น้อยกว่า
10 เทคโนโลยีในปี 2567 กลยุทธ์ เช่น 1) ยกระดับและเร่งรัดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตข้าว
ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และ 2) การเสริมสร้างพัฒนาองค์กรวิจัย สนับสนุนงบประมาณ เครื่องมืออุปกรณ์ บุคลากรในการวิจัยข้าวและนักวิจัยรุ่นใหม่
4. ยุทธศาสตร์ข้าวไทยด้านผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าว
4.1 การส่งเสริมนวัตกรรมให้ตรงกับความต้องการของตลาด เป้าหมาย เช่น 1) มีผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าวที่มีการนำงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้และตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น และ 2) มีงานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวมีมากขึ้น กลยุทธ์ เช่น 1) การส่งเสริม
การพัฒนาความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและผู้ประกอบการ และ 2) การส่งเสริมให้มีระบบหรือช่องทางในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4.2 การสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคทราบถึงคุณประโยชน์ เป้าหมาย คือ ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรับรู้ถึงคุณสมบัติและคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าวเพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์ เช่น
1) การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าว 2) การพัฒนาตลาดเสมือนจริงผ่านช่องทางเว็บไซต์ และ 3) การประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์และคุณสมบัติเฉพาะของผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าวผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4.3 การส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป้าหมาย คือ การค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าว ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์ เช่น 1) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าวผ่านช่องทางออนไลน์ และ 2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับห้างค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีศักยภาพ
4.4 การอำนวยความสะดวกให้นักวิจัยและผู้ประกอบการ เป้าหมาย คือ 1) มีแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการที่พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าว และ 2) การดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าวเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น กลยุทธ์ เช่น 1) การสนับสนุน
แหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าว และ 2) การปรับปรุงกฎระเบียบและขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งระบบการให้บริการของภาครัฐที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ
ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวทรงตัวในระดับสูงซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบกว่า 9 ปี นับตั้งแต่เดือน
ธันวาคม 2554 เนื่องจากอุปทานข้าวในตลาดมีปริมาณลดลง ขณะที่มีคำสั่งซื้อข้าวจากประเทศฟิลิปปินส์เข้ามา
อย่าง ต่อเนื่อง โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 500-505 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า วงการค้าระบุว่า ผู้ซื้อบางส่วนชะลอการซื้อในช่วงนี้เพื่อรอดูผลผลิตข้าวฤดูใหม่ (winter-spring crop) ซึ่งจะออกสู่ตลาดเร็วๆ นี้
และออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมนี้
กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Rural Development) รายงานว่า ช่วงเริ่มต้นของปีนี้ บริษัท Trung An High-Tech Agriculture Joint Stock Company จะเริ่มส่งออกข้าวหอมคุณภาพสูงจำนวน
1,600 ตัน ไปยังตลาดอาเซียน โดยจะมีการส่งออกข้าวหอม Jasmine 85 จำนวน 450 ตัน ในราคาประมาณตันละ 680 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปยังประเทศสิงคโปร์ และส่งข้าวหอม Huong Lai จำนวน 1,150 ตัน ไปยังประเทศมาเลเซีย
ในราคาประมาณตันละ 750 ดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีแผนที่จะส่งออกข้าวไปยังประเทศเยอรมนี จำนวนประมาณ 2,000 ตัน ด้วย
กรมศุลกากร (the Customs Department) รายงานว่า ในเดือนธันวาคม 2563 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 546,622 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 55.5 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2563 และเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.5
เมื่อเทียบกับจำนวน 499,261 ตัน ในเดือนธันวาคม 2562 ขณะที่วงการค้ารายงานว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 6.26 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่มูลค่าส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากเกษตรกรหันมาปลูกข้าวหอมและข้าวคุณภาพสูงมากขึ้นทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นตามลำดับ
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 1-22 มกราคม 2564 จะมีเรือบรรทุกสินค้าอย่างน้อย 12 ลำ เข้ามารอรับขนถ่ายสินค้าข้าวท่าเรือ Ho Chi Minh City Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 106,800 ตัน
กรมอุตสาหกรรมและการค้าประจำกรุงฮานอย คาดการณ์ว่า ในช่วงเทศกาลตรุษญวนหรือเต๊ด (Tet) ปีนี้
ความต้องการในการบริโภคข้าว เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ และผักต่างๆ จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3-20 จากปีก่อน ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตภายในเวียดนามสามารถรองรับความต้องการสินค้าดังกล่าวได้เพียงร้อยละ 50-60 ทั้งนี้
กรมอุตสาหกรรมและการค้าระบุว่ากรมฯ อยู่ระหว่างการประสานงานกับกลุ่มผู้ค้าปลีกในกรุงฮานอย เพื่อเก็บสำรองสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในช่วงเทศกาลตรุษญวน (Tet) ในปีนี้ รวมมูลค่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5 จากปีก่อน
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าว กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,961 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,890 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,222 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,242 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,830 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,775 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 899 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,789 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 14 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 543 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,154 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ที่เฉลี่ยตันละ 543 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,181 บาท/ตัน) แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 27 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 540 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,065 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,062 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.7496 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2563/64 ณ เดือนมกราคม 2564 ผลผลิต 503.167 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 496.397 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2562/63 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.36
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2563/64
ณ เดือนมกราคม 2564 มีปริมาณผลผลิต 503.167 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.36 การใช้ในประเทศ 501.969 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.41 การส่งออก/นำเข้า 45.616 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 2.11 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 179.503 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก
ปี 2562/63 ร้อยละ 0.67
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย กัมพูชา จีน อียู กายานา ปากีสถาน ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล เมียนมา อินเดีย ปารากวัย ตุรกี และอุรุกวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ เบนิน คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ เอธิโอเปีย อียู กานา อิรัก เคนย่า ไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล จีน กินี มาเลเซีย เม็กซิโก และเนปาล
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ จีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567 โดยมีวิสัยทัศน์ คือ ไทยเป็นผู้นำการผลิต การตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก ภายใต้ยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิต โดยแบ่งข้าวออกเป็น 7 ชนิด ตามความต้องการของตลาด 3 ประเภท ดังนี้ 1. ตลาดพรีเมียม ได้แก่ ข้าวหอมมะลิและข้าวหอมไทย 2. ตลาดทั่วไป ได้แก่
ข้าวขาวพื้นนุ่ม ข้าวขาวพื้นแข็ง และข้าวนึ่ง และ 3. ตลาดเฉพาะ ได้แก่ ข้าวเหนียว และข้าวสีหรือข้าวคุณลักษณะพิเศษ
สำหรับยุทธศาสตร์ข้าวไทย มี 4 ด้านดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ข้าวไทยด้านการตลาดต่างประเทศ1.1 ตลาดนำการผลิต เป้าหมาย คือ ประเทศไทยมีชนิดข้าวที่หลากหลายสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดกลยุทธ์ เช่น 1) การจัดทำฐานข้อมูลตลาดข้าวเชิงลึก 2) การเชื่อมโยงข้อมูลแนวโน้มความต้องการของตลาดกับภาคการผลิต และ 3) การผลักดันผลผลิตสู่ตลาดเป้าหมาย
1.2 การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานข้าวไทย เป้าหมาย คือ ข้าวไทยเป็นหนึ่งด้านคุณภาพและมาตรฐานกลยุทธ์ เช่น 1) การกำหนดมาตรฐานสินค้าข้าวเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและการพัฒนาพันธุ์ข้าว
2) การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับสำหรับสินค้าข้าวไทย และ 3) การผลักดันให้มีห้องปฏิบัติการของรัฐสำหรับตรวจวิเคราะห์สารตกค้างหรือสารปนเปื้อน
1.3 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการส่งออกข้าวไทยเป้าหมาย คือ ลดต้นทุนการส่งออกเพื่อให้แข่งขันได้ กลยุทธ์ เช่น 1) การปรับปรุงกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่ง
ทั้งทางบกและทางน้ำ เพื่อลดต้นทุนการขนส่งข้าว 3) การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการขนส่ง และ 4) การตรวจรับรองมาตรฐานข้าวตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง
1.4 การส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ เป้าหมาย คือ เพิ่มโอกาสและช่องทางตลาดของข้าวไทยให้เข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้าง กลยุทธ์ เช่น 1) การอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคในการส่งออกข้าวไทย 2) การส่งเสริมการค้าข้าวในรูปแบบที่สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการของประเทศผู้ซื้อ 3) การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรข้าวไทย และ 4) การส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ส่งออกข้าวไทยและผู้นำเข้าเพื่อสร้าง “Brand Loyalty”
2. ยุทธศาสตร์ข้าวไทยด้านการตลาดภายในประเทศ
2.1 ตลาดนำการผลิต เป้าหมาย เช่น 1) เกษตรกรมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจวางแผนการผลิตข้าวได้ตรงตามความต้องการของตลาด และ 2) มีการจัดชั้นคุณภาพข้าวเปลือก ข้าวสาร เพื่อเป็นเกณฑ์ในระบบการค้า กลยุทธ์ เช่น 1) การจัดทำฐานข้อมูลความต้องการใช้และบริโภคเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลการส่งออกเป็น Single Demand Base
2) การจัดชั้นคุณภาพข้าวเปลือกและข้าวสาร และ 3) การส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)
2.2 เพิ่มประสิทธิภาพระบบการค้าข้าวและยกระดับกลไก การซื้อขายสู่มาตรฐานสากล เป้าหมาย เช่น
1) มีกระบวนการผลิตข้าวสารที่ได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานสากล และ 2) ผู้ผลิตและผู้ค้าข้าวไทยมีศักยภาพ และ
ขีดความสมารถในการแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มขึ้น กลยุทธ์ เช่น 1) การปรับปรุงกฎระเบียบการค้าข้าวและฐานข้อมูลผู้ประกอบการค้าข้าว 2) การจัดระบบการตรวจรับรองมาตรฐานคุณภาพข้าวสารที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และ 3) การส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของโรงสีสู่มาตรฐานสากล
2.3 บริหารสมดุลอุปสงค์อุปทานข้าวและสร้างกลไกป้องกันความเสี่ยงด้านราคา เป้าหมาย เช่น 1) การลดความผันผวนของราคาข้าว ชาวนาได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมคุ้มค่ากับการลงทุน และ 2) กลไกตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการแข่งขันสูงขึ้น กลยุทธ์ เช่น 1) การสร้างหลักประกันรายได้ให้ชาวนา และ 2) การเพิ่มสภาพคล่องให้กับโรงสีและผู้ค้าข้าวในการดูดซับผลผลิตในช่วงที่ข้าวออกสู่ตลาดมาก
2.4 พัฒนาระบบการเชื่อมโยงและรณรงค์การบริโภค เป้าหมาย เช่น 1) ชาวนามีความรู้ด้านการตลาดและการสร้าง Brand สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และ 2) การลดปัญหาสภาพคล่องของคู่ค้า
ในระบบการค้าข้าว กลยุทธ์ เช่น 1) การจัดทำฐานข้อมูลการผลิตและการใช้ข้าวระดับจังหวัด และ 2) การส่งเสริม
การให้ใบประทวนสินค้าข้าวเป็นหลักทรัพย์
3. ยุทธศาสตร์ข้าวไทยด้านการผลิต
3.1 สร้างความเข้มแข็งให้ชาวนาและองค์กรชาวนาพึ่งพาตนเองได้ มีรายได้เพียงพอและอยู่ดีมีสุข เป้าหมาย คือ 1) ชุมชนข้าวมีความเข้มแข็งในระดับมาตรฐาน ไม่น้อยกว่า 10,000 กลุ่ม ในปี 2567 และ 2) มีชาวนาปราดเปรื่อง ปราชญ์ชาวนา และชาวนารุ่นใหม่ ไม่น้อยกว่า 130,000 ราย ในปี 2567 กลยุทธ์ เช่น 1) การยกระดับชาวนาให้เป็นชาวนาปราดเปรื่องและปราชญ์ชาวนา และ 2) การขยายและสร้างศูนย์ข้าวชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตข้าวของชุมชน
3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการผลิตข้าว เป้าหมาย เช่น 1) ปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกแต่ละชนิดเท่ากับหรือสูง ต่ำกว่าปริมาณความต้องการตลาดไม่เกิน 10% ของแต่ละปี และ 2) ต้นทุนการผลิตข้าวทุกชนิด เฉลี่ยไม่เกินไร่ละ 3,000 บาท หรือเฉลี่ยไม่เกินตันละ 6,000 บาท ในปี 2567 กลยุทธ์ เช่น 1) การขยายโครงสร้างพื้นฐานการผลิตข้าวโดยเพิ่มแหล่งน้ำในไร่นา จัดรูปแปลงและปรับพื้นที่นา และปรับปรุงบำรุงดินให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกข้าวสำคัญ และ
2) การกำหนดเขตส่งเสริมการปลูกข้าวตามศักยภาพของพื้นที่ (Zoning) และ 3) การเพิ่มศักยภาพการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ให้เพียงพอ
3.3 เพิ่มศักยภาพการวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าว และเทคโนโลยีการผลิตข้าว เป้าหมาย เช่น 1) ได้ข้าวพันธุ์ใหม่
ตรงตามความต้องการของตลาด อายุเก็บเกี่ยวสั้น ผลผลิตต่อไร่สูงมาก ไม่น้อยกว่า 12 พันธุ์ ในปี 2567 และ
2) มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการลดต้นทุนการผลิตข้าวและผลผลิตต่อไร่ ไม่น้อยกว่า
10 เทคโนโลยีในปี 2567 กลยุทธ์ เช่น 1) ยกระดับและเร่งรัดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตข้าว
ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และ 2) การเสริมสร้างพัฒนาองค์กรวิจัย สนับสนุนงบประมาณ เครื่องมืออุปกรณ์ บุคลากรในการวิจัยข้าวและนักวิจัยรุ่นใหม่
4. ยุทธศาสตร์ข้าวไทยด้านผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าว
4.1 การส่งเสริมนวัตกรรมให้ตรงกับความต้องการของตลาด เป้าหมาย เช่น 1) มีผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าวที่มีการนำงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้และตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น และ 2) มีงานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวมีมากขึ้น กลยุทธ์ เช่น 1) การส่งเสริม
การพัฒนาความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและผู้ประกอบการ และ 2) การส่งเสริมให้มีระบบหรือช่องทางในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4.2 การสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคทราบถึงคุณประโยชน์ เป้าหมาย คือ ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรับรู้ถึงคุณสมบัติและคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าวเพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์ เช่น
1) การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าว 2) การพัฒนาตลาดเสมือนจริงผ่านช่องทางเว็บไซต์ และ 3) การประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์และคุณสมบัติเฉพาะของผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าวผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4.3 การส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป้าหมาย คือ การค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าว ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์ เช่น 1) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าวผ่านช่องทางออนไลน์ และ 2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับห้างค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีศักยภาพ
4.4 การอำนวยความสะดวกให้นักวิจัยและผู้ประกอบการ เป้าหมาย คือ 1) มีแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการที่พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าว และ 2) การดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าวเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น กลยุทธ์ เช่น 1) การสนับสนุน
แหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปและนวัตกรรมจากข้าว และ 2) การปรับปรุงกฎระเบียบและขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งระบบการให้บริการของภาครัฐที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ
ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวทรงตัวในระดับสูงซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบกว่า 9 ปี นับตั้งแต่เดือน
ธันวาคม 2554 เนื่องจากอุปทานข้าวในตลาดมีปริมาณลดลง ขณะที่มีคำสั่งซื้อข้าวจากประเทศฟิลิปปินส์เข้ามา
อย่าง ต่อเนื่อง โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 500-505 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า วงการค้าระบุว่า ผู้ซื้อบางส่วนชะลอการซื้อในช่วงนี้เพื่อรอดูผลผลิตข้าวฤดูใหม่ (winter-spring crop) ซึ่งจะออกสู่ตลาดเร็วๆ นี้
และออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมนี้
กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Rural Development) รายงานว่า ช่วงเริ่มต้นของปีนี้ บริษัท Trung An High-Tech Agriculture Joint Stock Company จะเริ่มส่งออกข้าวหอมคุณภาพสูงจำนวน
1,600 ตัน ไปยังตลาดอาเซียน โดยจะมีการส่งออกข้าวหอม Jasmine 85 จำนวน 450 ตัน ในราคาประมาณตันละ 680 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปยังประเทศสิงคโปร์ และส่งข้าวหอม Huong Lai จำนวน 1,150 ตัน ไปยังประเทศมาเลเซีย
ในราคาประมาณตันละ 750 ดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีแผนที่จะส่งออกข้าวไปยังประเทศเยอรมนี จำนวนประมาณ 2,000 ตัน ด้วย
กรมศุลกากร (the Customs Department) รายงานว่า ในเดือนธันวาคม 2563 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 546,622 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 55.5 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2563 และเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.5
เมื่อเทียบกับจำนวน 499,261 ตัน ในเดือนธันวาคม 2562 ขณะที่วงการค้ารายงานว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 6.26 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่มูลค่าส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากเกษตรกรหันมาปลูกข้าวหอมและข้าวคุณภาพสูงมากขึ้นทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นตามลำดับ
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 1-22 มกราคม 2564 จะมีเรือบรรทุกสินค้าอย่างน้อย 12 ลำ เข้ามารอรับขนถ่ายสินค้าข้าวท่าเรือ Ho Chi Minh City Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 106,800 ตัน
กรมอุตสาหกรรมและการค้าประจำกรุงฮานอย คาดการณ์ว่า ในช่วงเทศกาลตรุษญวนหรือเต๊ด (Tet) ปีนี้
ความต้องการในการบริโภคข้าว เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ และผักต่างๆ จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3-20 จากปีก่อน ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตภายในเวียดนามสามารถรองรับความต้องการสินค้าดังกล่าวได้เพียงร้อยละ 50-60 ทั้งนี้
กรมอุตสาหกรรมและการค้าระบุว่ากรมฯ อยู่ระหว่างการประสานงานกับกลุ่มผู้ค้าปลีกในกรุงฮานอย เพื่อเก็บสำรองสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในช่วงเทศกาลตรุษญวน (Tet) ในปีนี้ รวมมูลค่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5 จากปีก่อน
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.13 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.29 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.10 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.59
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 314.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,359 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 310.80 ดอลลาร์สหรัฐ (9,267 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 92 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2563/64 มีปริมาณ 1,153.06 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,133.45 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 1.73 โดยจีน อาร์เจนตินา เวียดนาม รัสเซีย บราซิล แคนาดา ไนจีเรีย เม็กซิโก อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ อินเดีย แอฟริกาใต้ และญี่ปุ่นมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 181.36 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 175.04 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 3.61 โดย สหรัฐอเมริกา บราซิล เซอร์เบีย ปารากวัย แอฟริกาใต้ และแคนาดา ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น จีน สหภาพยุโรป อิหร่าน เม็กซิโก บราซิล โคลอมเบีย คอสตาริก้า โมร็อกโก อียิปต์ เปรู มาเลเซีย ชิลี สาธารณรัฐโดมินิกัน อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ กัวเตมาลา และแอลจีเรีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 518.15 เซนต์ (6,157.06 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 519.68 เซนต์(6,185.44 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 28.38 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนมกราคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.35 ล้านตัน (ร้อยละ 17.89 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.47 ล้านตัน (ร้อยละ 61.81 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง แม้ว่าหัวมันสำปะหลังจะมีคุณภาพดี เชื้อแป้งสูง สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.03 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.92 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.33
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.45 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,437 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,450 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 463 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,774 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,797 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 0.806 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.145 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.846 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.152 ล้านตัน ของเดือนธันวาคม 2563 คิดเป็นร้อยละ 4.73 และร้อยละ 4.61 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.77 บาท ลดลงจาก กก.ละ 7.04 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.84
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 39.00 บาท ลดลงจาก กก.ละ 39.75 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.89
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ทิศทางตลาดปาล์มน้ำมันอาจมีการเปลี่ยนแปลงในปี 2564 หลังจากที่จีนได้เริ่มทำการซื้อถั่วเหลืองมาทำกากถั่วเหลือง (อาหารสัตว์) มากขึ้นจากปี 2563 เพื่อที่จะขยายตลาดเนื้อสุกรและฟื้นฟูตลาดเนื้อสุกรจากการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever : ASF) ราคาอ้างอิงในตลาดล่วงหน้าน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า จากเดือนพฤษภาคม 2563 ทำให้ตอนนี้ (ม.ค. 64) ราคาน้ำมันปาล์มสูงสุดในรอบ 10 ปี อีกทั้งปัญหาด้าน supply ของมาเลเซียที่ลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคากับน้ำมันถั่วเหลืองรุนแรงขึ้น นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าจีนได้ซื้อน้ำมันปาล์มเตรียมพร้อมสำหรับเทศกาลตรุษจีนตั้งแต่ปลายปี 2563 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการซื้อเพิ่มประมาณเดือน มี.ค.- เม.ย. ซึ่งคาดว่าปริมาณที่จะซื้อไม่ได้เยอะเท่ากับปี 2563 (Bloomberg 25 Jan 2021)
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,550.12 ดอลลาร์มาเลเซีย (26.73 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,952.95 ดอลลาร์มาเลเซีย (29.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 10.19
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 976.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29.46 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,031.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.33
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
Agrowon & Msweet รายงานว่า ราคาน้ำตาลในรัฐมหาราษฎระของอินเดียลดลงไปอยู่ที่ 2,700 รูปี/100 กิโลกรัม (36.92 เหรียญสหรัฐฯ/100 กิโลกรัม) เนื่องจากมีสต็อกเพียงพอและมีความต้องการใช้น้ำตาลต่ำ โรงงานกำลังพยายามหาผู้ซื้อน้ำตาลสำหรับน้ำตาลเก่าที่ราคา 1,850 รูปี/100 กิโลกรัม (25.30 เหรียญสหรัฐฯ/100 กิโลกรัม) นอกจากนี้ยังกล่าวเสริมว่า การผลิตของอินเดียสามารถผลิตน้ำตาลมากกว่า 33.5 ล้านตัน ที่ตลาดคาดการณ์ไว้ได้
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.58 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.07
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,359.20 เซนต์ (15.07 บาท/กก.) ลดลง
จากบุชเชลละ 1,412.08 เซนต์ (15.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.74
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 438.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.22 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 462.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.30
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 42.49 เซนต์ (28.26 บาท/กก.) ลดลง
จากปอนด์ละ 42.81 เซนต์ (28.52 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.75
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.58 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.07
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,359.20 เซนต์ (15.07 บาท/กก.) ลดลง
จากบุชเชลละ 1,412.08 เซนต์ (15.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.74
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 438.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.22 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 462.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.30
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 42.49 เซนต์ (28.26 บาท/กก.) ลดลง
จากปอนด์ละ 42.81 เซนต์ (28.52 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.75
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.34 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 24.07 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.28
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,178.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,176.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,043.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.03 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,040.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.02 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,280.00 ดอลลาร์สหรัฐ (38.08 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,277.60 ดอลลาร์สหรัฐ (38.07 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 670.40 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 669.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ทรงตัวในในรูปเงินบาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,137.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.84 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,134.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.80 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.52 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.60
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 81.72 เซนต์(กิโลกรัมละ 54.38 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 80.98 เซนต์ (กิโลกรัม 53.97 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.41 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,855 บาท เพิ่มขึ้นจาก 1, 803 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 2.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,855 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,531 บาท เพิ่มขึ้นจาก 1,494 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 2.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,531 บาทส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ลดลงจาก 944 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.21 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 958 บาท ส่วนภาคเหนือภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 75.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 75.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 71.79 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.47 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.98 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 78.01 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,700 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่าน แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.78 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 279 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 274 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.82 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 304 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 272 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 275 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 270 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 260 บาท จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.84
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 344 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 345 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.29 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 315 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 375 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.11 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.11 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 92.30 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.15 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.37 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 18 – 24 มกราคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 76.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.36 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.91 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 130.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 125.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.79 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 67.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.65 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.35 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 18 – 24 มกราคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 76.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.36 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.91 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 130.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 125.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.79 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 67.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.65 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.35 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา